SundayZ.me

Storytelling Through Travel Photography

Photo Technique

Basic Photography EP3 ระยะเลนส์ vs ขนาด Sensor


sensor size vs focal length

การอ้างอิงขนาด Sensor กล้อง ว่ามีขนาด เล็กหรือใหญ่กว่า Sensor อื่น จำเป็นต้องหาจุดอ้างอิง เป็นมาตรฐานร่วมกัน มาเปรียบเทียบว่า Sensor นี้ ใหญ่กว่า หรือเล็กกว่า อะไร? Full frame Sensor ขนาด 36mm x 24mm จึงถูกใช้ให้เป็น จุดอ้างอิง โดยกำหนดให้มี Crop Factor (หรือ Aspect Ratio) เป็น 1.0

ขนาด ของ Full-frame Sensor มีขนาด 36mm x 24mm (กว้างxยาว) ทำไมต้องขนาดนี้? เนื่องจากใช้ ขนาดของ Film Frame ในระบบ 35mm ยุคสมัยกล้อง Film ซึ่งขนาด Film Frame 35mm เป็นที่นิยมแพร่หลาย กันสูงที่สุด ก้าวผ่านมายุคกล้อง ดิจิตอล ที่ยังมีพื้นฐานเดิม จากยุคกล้องฟิล์ม ที่เป็นรากฐานสำคัญ เช่น ระบบ เลนส์

  • Sensor ที่มีขนาด ใหญ่กว่า Full-frame อาทิ เช่น Medium Format (เช่น Fuji GFX), Large Format
  • Sensor ที่มีขนาด เล็กกว่า Full-frame อาทิ เช่น APS-C (เช่น Nikon DX, Fuji X Series เป็นต้น),  Micro 4/3 (Olympus)

credit: https://www.jbbimagery.com

Sensor ประเภท APS-C, Micro 4/3 (หรือ แม้แต่ Medium Format) ขนาดของ Sensor ก็อาจจะแตกต่างกันไป แล้วแต่บริษัทผลิตกล้อง จะกำหนด เช่น ขนาด  APS-C Sensor ของ Nikon ก็ไม่เท่ากับ APS-C Sensor ของ Canon

หรือ Medium Format ของ กล้อง Fuji GFX Series มีขนาด Sensor 43.8mm×32.9mm แต่ขนาด Sensor ของ Medium Format Sensor ของ Phase One’s 100MP XF กลับมีขนาด 53.7×40.4mm.credit: http://photoseek.com

คำนวณ Crop Factor (ข้ามไปได้นะ)

วิธีการคำนวณ ค่า Crop Factor จะอาศัย การเทียบ อัตราส่วน ความยาวเส้นทแยงมุมของ Full Frame Sensor อย่างแรก ก็คำนวน ค่าเส้นทแยงมุมของ Full Frame ก่อน

Full Frame Sensor มีขนาด 36 x 24mm (Crop Factor = 1.0) ; ความยาวเส้นทแยงมุม =

Full Frame Sensor จะใช้สำหรับอ้างอิง Crop Factor

 

APS-C Sensor ของ Nikon DX มีขนาด 24 x 16mm ;ความยาวเส้นทแยงมุม =

; Crop Factor = 43.27 (FF) / 28.84 ∼ 1.5

 

Medium Format Sensor ของ Fujifilm GFX ขนาด 43.8 x 32.9 mm ;ความยาวเส้นทแยงมุม =

; Crop Factor = 43.27 (FF) / 54.78 ∼ 0.79

 

ทำไม Crop Factor ถึงสำคัญ?

มาถึงตรงนี้ อาจมีคนสงสัยว่า แล้วมันจะสำคัญอย่างไร? สมมุติว่า ตอนนี้กำลังจะถ่ายสาว ถ้ารู้สึกว่าไกล ก็ใช้เดินเท้า ขยับเข้าไปหา หรือเดินถอยออกมา ถ้าใกล้เกินไป ก็เท่านั้น?! … จะตอบแบบนี้ก็ถูกอีก แต่ในบางสถาณการณ์ เช่นการถ่ายใน Indoor ที่พื้นที่จำกัด คุณไม่สามารถ ที่จะสะดวก เดินขยับเข้าออก หาตัวแบบได้ เพราะพื้นที่จำกัด การรู้จักระยะเลนส์ ประกอบ Crop Factor จึงสำคัญ

หรือการจะซื้อเลนส์ Wide เพื่อใช้งานกับ กล้อง APS-C หากไม่สนใจ Crop Factor แล้วไปจัดหา Wide lens สำหรับ Full Frame มาใช้ เช่น Wide lens ระยะ 20mm ซึ่งเลนส์ช่วงระยะนี้ ถือเป็นช่วงมุมกว้างของ Full Frame แต่ถ้านำมาใช้กับ APS-C Sensor ที่ Crop Factor เป็น 1.5 ระยะมุมมองของเลนส์ จะเทียบเท่ากับระยะ 30mm ซึ่ง ก็ถือว่า เป็นระยะต้น ของ ช่วง Normal ไปแล้ว

คำถาม ต่อมา คือ ถ้าใช้ระยะเลนส์ (Focal Length) เดียวกัน แต่ต่าง Sensor ผลลัพธ์ที่ได้ต่างกันอย่างไร?

หากต้องการทราบก็แค่เอา Crop Factor ของ Sensor ที่ใช้งาน คูณกับระยะ Focal Length ของเลนส์ได้เลย

กล้องที่ต้องใช้ Crop Factor ไปคูณ เพื่อหาระยะเลนส์ จึงมักถูกเรียกว่า กล้องตัวคูณ

  • เมื่อใช้เลนส์ระยะ 24mm กับกล้อง APS-C** จะได้ระยะมุมมองเทียบได้กับ 36mm (24 x 1.5) ของ Full Frame Sensor
  • เมื่อใช้เลนส์ระยะ 50mm กับกล้อง APS-C** จะได้ระยะมุมมองเทียบได้กับ 75mm (50 x 1.5) ของ Full Frame Sensor

Note: ** ใช้ Crop Factor = 1.5

เลนส์ระยะ 35mm หากนำไปใช้กับ APS-C ที่ Crop Factor 1.5 ภาพที่ได้ จะเทียบเท่ากับ เลนส์ระยะ 52.5mm บน Full Frame เสมือนภาพถูก Crop ออกไป

 

ข้อดี ของ Crop Sensor ที่ Sensor มีขนาด เล็กกว่า Full-frame ที่เห็นได้ชัดเจน คือ การถ่ายภาพในอาศัยระยะ Tele หรือ Super Tele เช่นการถ่ายนก จะได้ประโยชน์ ตรงนี้ สมมุติ ใช้เลนส์ Tele ระยะ 300mm บน APS-C จะทำให้ได้มุมมองเทียบกับเลนส์ระยะ 450mm (หรือ 600mm บน Micro 4/3 ของ Olympus) ซึ่ง ระยะแบบนี้ หาก เป็นกล้อง Full Frame ที่ต้องหาเลนส์ ระยะใกล้เคียงกัน ต้องเป็นเลนส์ที่ใหญ่ และน้ำหนักมาก หรือการถ่ายภาพ Macro หรือ Wild-life ก็เช่นเดียวกัน ที่ได้ประโยชน์จาก Cropped Sensor ทำให้ไม่ต้องเข้าใกล้ตัวแบบเช่น แมลง หรือสัตว์ป่า มากจนเกินไป

แต่แน่นอน สิ่งเหล่านี้ ก็ทำให้ Sensor ที่มีขนาด เล็กกว่า Full-frame เสียเปรียบ ระยะเลนส์ในช่วง Wide เช่นกัน