Never Ending ภูสอยดาว จ.อุตรดิตถ์
ช่วงเวลาที่เหมาะแก่ การชมทุ่งดอกหงอนนาค คือช่วงระหว่างหน้าฝนจนถึงช่วงปลายฝนต้นหนาว ระหว่างเดือนสิงหาคม ถึง กลางเดือนตุลาคม เพียงแต่ในกลางเดือนตุลาคมเป็นต้นไป ดอกหงอนนาคจะเริ่มโรย และมี ดอกเอนอ้า กลีบสี สีชมพู,
ดอกวนารมย์ และ ดอกกุงหรือหญ้าขนไก่ กลีบสีเหลือง ขึ้นมาทดแทน จนถึงเข้าหน้าหนาว ดอกไม้ทุกชนิดจะโรยหมดและมีต้นดอกกระดุม ขึ้นทดแทน เป็นทุ่งดอกกระดุม ขาวโพลน
ภูสอยดาว จ.อุตรดิตถ์ ดินแดนแห่งทุ่งดอกหงอนนาค ที่บานสะพรั่ง ในฤดูฝน พร้อมหมอกที่ปกคลุมอยู่เบื้องหลัง ยิ่งทำให้ บรรยากาศสวยงาม ชวนฝัน สดชื่น เป็นทวีคูณ
ภูสอยดาว มีจุดสูงสุดคือ 2,035 เมตร แต่จะเปิดให้ขึ้นไปได้เฉพาะช่วงหน้าหนาว เท่านั้น และจะต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ เพื่อนำทางขึ้นไป โดยนักท่องเที่ยว 5 คนต่อ เจ้าหน้าที่ 2 คน เนื่องจากการเดินทางไปนั้น ลำบาก อันตราย ต้องไต่เชือกกัน เดิน ใช้เวลาเต็มวันในการเดินทางไป-กลับ ทำให้นักท่องเที่ยว นิยมเที่ยว ที่ ลานสนภูสอยดาว ที่ ระดับ ความสูง 1,633 เมตร เป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมมากที่สุด เพราะเป็นทั้งจุดกางเตนท์ และมีทุ่งดอกหงอนนาคที่สวยงาม ท่ามกลางหมอกหน้าฝน นอกจากนี้ที่ภูสอยดาวยังมีน้ำตกที่น่าสนใจ คือน้ำตกสายทิพย์ และน้ำตกมอส
การเดินทาง
ทริปนี้เดินทางโดยอาศัย รถทัวร์โดยสารของ “นครชัยแอร์” ตั้งต้นจาก สถานี นครชัยแอร์ ที่หมอชิต 2 ซื้อตั๋ว กรุงเทพ – อุตรดิตย์ รอบ 21:45 แต่เราจะลงรถที่ สถานี พิษณุโลก 2 (ต้องดูรอบให้ดีด้วย เพราะบางรอบไม่จอดแวะที่ สถานีขนส่ง พิษณุโลก) ถึง สถานีขนส่ง พิษณุโลก 2 เวลาประมาณ 3:00 จากนั้น เหมารถ Taxi (ติดต่อนัดจองล่วงหน้า) จากสถานี ขนส่ง พิษณุโลก 2 เข้าไปที่ อช.ภูสอยดาว โดยตรง เพื่อทำเวลา
โดยให้รถจอดแวะพัก เพื่อซื้อเสบียง อาหาร ที่ ตลาดสด ป่าแดง อ.ชาติตระการ ถึงเวลาประมาณ 5:30 ใช้เวลาเดินทาง จาก สถานีขนส่ง มาที่ ตลาด ต.ป่าแดง ประมาณ 1.5 – 2 ชั่วโมง ที่ฝั่งตรงข้ามตลาดมี Lotus Express และ 7-11
ปล. แต่ขาเดินทางกลับ เข้ากรุงเทพ จะกลับด้วยสายการบิน แอร์เอเซีย (Air Asia) จาก สนามบินพิษณุโลก ถึงดอนเมือง ใช้เวลาเพียง 45 นาที ดังนั้นหากหาตั๋วเครื่องบิน ราคาโปรโมชั่นได้ ก็แนะนำ เพราะจะประหยัดเวลา เดินทาง แถมราคา ต่างจาก ตั๋วรถทัวร์ ไม่มาก แต่อย่าลืมเรื่องน้ำหนักกระเป๋าด้วย
เมื่อซื้อเสบียง อาหาร ของสด เรียบร้อยแล้ว เวลา 7:30 จึงออกเดินทางต่อไปที่ อุทยานแห่งชาติ ภูสอยดาว
ปล. วิวระหว่างเดินทางในช่วง 50 กิโลเมตรสุดท้าย ก่อนถึง อช.
ใช้เวลาเดินทาง ราว 1 ชั่วโมง ก็ถึงที่ทำการ อช.ภูสอยดาว ทำการลงทะเบียน นักท่องเที่ยว พร้อมเช่าเต๊นท์และเครื่องนอน ถุงนอน แผ่นปูพื้น และ ชั่งน้ำหนัก เพื่อว่าจ้างลูกหาบ แบกสัมภาระ (ค่าลูกหาบกิโลละ 30 บาท) หลังจากนั้น เจ้าหน้าที่ จะนำนักท่องเที่ยวมาส่ง ที่ จุดเริ่มต้นเดินขึ้น ที่ น้ำตกภูสอยดาว ระยะทางประมาณ 2 กิโล
ที่นี่มีร้านอาหาร ใครจะแวะกินมื้อเช้าที่นี่ก่อนเดินขึ้น ก็ได้ หรือถ้าพร้อม ก็เริ่มต้นเดินได้เลย ระยะทางเดินประมาณ 6.5 กิโลเมตร
ต้องเดินข้าม ลำธารไปมาแบบนี้ 1-2 ครั้ง
ถึงเนินแรก คือ เนินส่งญาติ และ ต่อด้วย เนินปราบเซียน
ถึงเนิน มรณะแล้ว จะเป็นเนิน สุดท้ายก่อน ที่จะเดินขึ้นเขา เพื่อไปที่ลานกางเต๊นท์ เป็นจุดที่เหนื่อยที่สุด เพราะทางเดินขึ้นจะลาดชันตลอดระยะทาง
ป้ายผู้พิชิต ลานสนภูสอยดาว ถ้าเห็นป้ายนี้ แสดงว่ามาถึงลานสน แล้ว เดินเท้าต่อไปอีก 500 เมตรก็จะถึง ลานกางเต๊นท์
มาถึงแล้ว ลานกางเต๊นท์ ใช้เวลาเดินทั้งสิ้น 6 ชั่วโมง กับระยะทาง 6.5 กิโลเมตร เริ่มเดินตั้งแต่ 10:00 ถึงเวลา 15:00
มาถึงแล้ว ความเหนื่อยหายไปปลิดทิ้ง ธรรมชาติ สวยงามมาก
กว่า สัมภาระจะมาครบ ก็เกือบ 4 โมงเย็น ต้องรีบจัดการหาจุดกางเต๊นท์ และเตรียมทำอาหารมื้อเย็น โชคดีมากที่ฝนไม่ตก ระหว่างทำอาหาร, หุงข้าว … เห็น พระอาทิตย์ ใกล้ตกดิน ตกดิน รีบปิดเตาแก๊ส.. คว้ากล้อง พร้อมขาตั้ง วิ่งไปที่จุดชมวิว พระอาทิตย์ตก ขอเก็บภาพสวยๆ ก่อน
การถ่ายช่วงทไวไลท์ (ช่วงเวลาหลังพระอาทิตย์ ลับขอบฟ้าไปเล็กน้อย) เป็นสิ่งที่ชอบมากที่สุด เพราะสีสัน มีทั้งโทนร้อนและเย็นในภาพเดียวกัน เรามีหน้าที่แค่กด Shutter กล้องอย่างเดียว แล้วให้ ธรรมชาติ ออกแบบ ภาพสวยๆ ให้เอง
หากเป็นคืนเดือนมืด ไม่มีพระจันทร์ และโชคดี อากาศไม่ปิด ไม่มีเมฆหมอก บดบัง สามารถถ่ายทางช้างเผือก (Milky way) บนภูสอยดาวได้ เทคนิคการถ่ายทางช้างเผือก แนะนำ อ่านที่นี่
ถ้าจะ Creative อีกนิด สามารถเอาไฟฉาย หรือ มือถือที่มีไฟฉาย มาวาดแสงเล่นได้ ระหว่าง ต้มถั่วเขียว ใส่น้ำตาล กินกัน
ตื่นเช้ามา หมอก ค่อนข้างหนามาก เป็นไปตามปกติ บนภูสอยดาว อากาศที่นี่ ค่อนข้างแปรปรวนตลอดเวลา แต่บรรยากาศสดชื่นมาก อากาศบริสุทธิ
Fuji X-T2 สามารถเชื่อมต่อ กับ มือถือผ่าน WiFi ทำเป็น Remote Control ระยะไกลได้ สามารถ ตั้งค่ารูรับแสง, White Balance, ชดเชยแสง หรือเลือกจุด Focus จากมือถือได้ .. หลังจากจัดองค์ประกอบภาพ และ Shift White Balance ออกสีชมพู ก็กด Shutter ในมือถือ (อย่าลืมตั้งหน่วงเวลา Shutter สัก 2 วิ)
ใช้ เลนส์มุมกว้าง เปิดรูรับแสงกว้างสุด ถ่าย Close up ดอกไม้ ได้ภาพดูแปลกตา
ระหว่างฝนตก ก็สามารถถ่ายภาพจากในเต๊นท์ได้ ภาพนี้ เพื่อหยุด สายฝน ต้องปรับ Speed shutter สัก 1/1000 ขึ้นไป และพยายามใช้ lens ช่วง Tele จะช่วยให้ได้ภาพที่ดูแน่นขึ้น
ใช้เลนส์ช่วงเทเล เปิดรูรับแสงกว้างๆ เพื่อให้ฉากหลังเบลอ จะช่วยขับตัวแบบให้เด่น
ดอกวนารมย์
Fix 50mm f1.8G ปรับรูรับแสงไปที่ f/2 เพื่อให้ฉากหลังดูฟุ้งๆ ให้ภาพดูชวนฝัน
Nikon D800 + 50mm f1.8G
ใช้เลนส์เทเลช่วงทำให้ภาพดูแน่นกระชับ โดยเฉพาะการถ่ายทุ่งดอกไม้สวยๆ
บรรยากาศช่วงเช้าที่ ภูสอยดาว อากาศจะค่อนข้างแปรปรวนตลอดเวลา เดี๋ยวฝนตก เดี๋ยวแดดออก หมอกฟุ้ง
หลังจากทำอาหารเตรียมมื้อเช้า กินข้าวเสร็จ ก็ออกไปเที่ยวกัน โดยเริ่มต้น เดินทะลุ ไปด้านหลัง บ้านพัก ที่ทำการเจ้าหน้าที่อุทยาน ไปที่หลัก แบ่งดินแดน ไทย-ลาว อยู่ไม่ไกล
หลักแบ่งเขตไทย-ลาว พร้อมป้ายผู้พิชิต
Fuji X-T2 + XC 50-250 4.5-6.3 OIS II
การใช้เลนส์ Tele ถ่าย Landscape เป็นอะไรที่ดีมากๆ ต้องมีไว้เลย นอกจากเลนส์ช่วง Wide
Nikon D800 + 70-200 F4 G Nano
น้ำตกสายทิพย์ มีทั้งหมด 9 ขั้น (ขอเรียกกว่าขั้น เพราะดูแล้วแต่ละขั้นอยู่ห่างกันไม่มาก) ที่อนุญาตให้นักท่องเที่ยวลงไปได้เท่านั้น (ถ้าลงสุดทางมีทั้งหมด 15 ขั้น แต่ให้ลงแค่ขั้นที่ 9) เป็นน้ำตกที่มีความชุ่มชื่น ทำให้มี มอสสีเขียวปกคลุม สวยงาม สิ่งสำคัญในการถ่ายน้ำตก คือ ขาตั้งกล้อง …
น้ำตกชั้นสุดท้าย (ขั้นที่ 9) ที่อนุญาตให้ นักท่องเที่ยวสามารถลงไปได้
ดอกเอนอ้า และ ดอกหงอนนาค สีขาว
วันเดินทางกลับ พวกเราเริ่มเก็บของ และให้ลูกหาบ มารับสัมภาระตอน 9:00 และเริ่มต้นเดินลงจาก ลานกางเต๊นท์ ขาลงไม่น่าเป็นห่วงเพราะเดินง่ายกว่าขาขึ้นเยอะ จึงทำเวลาได้ดีพอสมควรใช้เวลาประมาณ 3-3.5 ชั่วโมง
ดอกลิลลี่ป่า ที่ภูสอยดาว ถ้าหาดีๆ จะเจอ อยู่ริมทาง
ขาลงใช้เวลา 3 ชั่วโมงครึ่ง เดินๆ พักๆ ถึงที่ทำการด้านล่างประมาณ 12:30
เนื่องจาก การเดินทางกลับกรุงเทพ เราจะนั่งเครื่องจาก สนามบินพิษณุโลก ไปดอนเมือง ด้วยสายการบิน แอร์เอเซีย (Air Asia) หากคำนวณแล้ว จะต้องเริ่มออกเดินทางจาก ที่ทำการอุทยานด้านล่าง ไปสนามบิน ไม่เกิน 14:30 ดังนั้น จึงแนะนำว่าหากใครจะกลับโดยเครื่องบิน ควรถึงที่ทำการ ด้านล่างไม่เกิน 13:00-13:30 เพื่อมีเวลาอาบน้ำ เปลี่ยนเสื้อผ้า รับสัมภาระลูกหาบ และชำระเงินค่าลูกหาบ และ ควรถึงสนามบินพิษณุโลก อย่างช้าสุดไม่ควรเกิน 17:00 (เพื่อให้ทัน Boarding Time คือ 18:15) ถึงกรุงเทพ สนามบินดอนเมืองเวลา 20:00
… ปิดทริปด้วยความประทับใจกับธรรมชาติ และทุ่งดอกไม้ที่สวยงาม แห่งนี้ …
<ข้อแนะนำการเตรียมตัว>
1. ลูกหาบ คิดค่าบริการ กิโลกรัมละ 30 บาท ต่อ 1 เที่ยว
2 เตรียมของใช้ส่วนตัว, ยาประจำตัว, รองเท้าแตะฟองน้ำ, ถุงนอน (ถ้าไม่เอาไปก็ไปเช่าเอาที่ อช.) ให้ใส่ถุงดำก่อน (แล้วมัดปากถุง) แล้วจึงใส่เข้ากระเป๋าเป้ ปกป้องการเปียกจากฝนระหว่างเดินขึ้น (อากาศจะค่อนข้างแปรปรวน)
3. ไฟฉาย (มือถือใครเป็นไฟฉายได้ ก็ใช้ได้) แต่ะแบบสวมหัวได้ ก็สะดวกดี
4. เสื้อกันฝน (พกติดตัวตอนเดินขึ้นด้วย ใช้ที่ขายตาม 7-11 ก็ได้), ร่มพับเล็กๆ (ถ้าไม่มีไม่เอาไปก็ได้), เสื้อกันหนาว
5. พกยาฉีดกันแมลงพวก Softfel หรือตะไคร้หอมไปด้วย กับ เสื้อแขนยาว หรือปลอกแขน และกางเกงขายาว เพื่อป้องกันตัวคุ่น กัดแล้วคัน ยังไม่เคยเจอทากบนนั้น
6. ขนม ใครอยากจัดอะไร จัดไปได้ที่ Lotus Express, 7-11 ที่ ตลาดป่าแดง อ.ชาติตระการ ได้.
7. รองเท้าเดินขึ้นไปลานกางเต๊นท์ (6.5 km) แนะนำที่มีดอกยางที่ใหญ่ แต่ถ้าไม่มี ก็ รองเท้าคู่เก่า ที่สะดวกก็ได้.
8. อาหาร น้ำดื่ม ไม่มีขายข้างบน ต้องจัดเตรียมไปเอง การต้มน้ำกินบนนั้น เป็นวิธีการดีอย่างหนึ่ง
9. ข้างบนมีห้องสุขา แยก ชาย-หญิง แต่จะต้องไปตักน้ำเอาเอง มีถังน้ำให้เช่า 20 บาทต่อคืนต่อใบ (จำเป็นต้องมีถังน้ำ)
10. เต๊นท์, แผ่นปูรองนอน, ถุงนอน, หมอน มีให้เช่า ที่ทำการอุทยาน (ด้านล่าง) ต้องติดต่อเช่าให้เรียบร้อย ก่อนเดินขึ้น
11. ชุดเครื่องครัว, เตา Camping (ควรมีสำรอง 1 อัน) แบบแก๊สกระป๋องสะดวกกว่า เตาถ่านก็ใช้ได้ แต่ใช้งานไม่ง่ายนัก บนสภาพที่ฝนตก และเปียกชื้น เกือบตลอดเวลา (เตาถ่านมีให้เช่า แต่ต้องนำถ่านมาเอง), ไฟแช๊ค
12. เชือกฟาง, เทปผ้า เผื่อเจอเต๊นท์ หรือพื้นเต๊นท์ เป็นรูตามด ใช้แก้ปัญหาเฉพาะหน้า
13. น้ำยาล้างจาน, ฟองน้ำ, ทิชชู่กระดาษ (ทิชชูเปียก ใช้ได้ แต่อย่าทิ้งไว้บนนั้น เพราะมันย่อยสลายตามธรรมชาติไม่ได้)
14. Flysheet (Tarp), Ground sheet ที่ใช้กางนั่งรวม (ถ้าไปกันหลายคน)
15. เต๊นท์หากนำไปเอง ควรเป็นแบบมีคุณภาพ กันฝนได้ดี (เต๊นท์ ราคาประหยัด จาก Lotus, Big C ต้องหา Tarp หรือ ผ้าใบพลาสติกสีฟ้า มากางคุม อีกชั้น ไม่งั้น เอาฝนไม่อยู่) หรือไม่ก็เช่าจากอุทยาน